ประกาศทุนวิจัย

เมื่อ : 2023-05-10 17:34:48 อ่านแล้ว: 1780 ครั้ง
ชื่อไฟล์ที่สามารถดาวโหลดได้ (คลิกเพื่อดาวน์โหลด)
https://cads.in.th/cads/media/upload/1683711706-ประกาศทุนวิจัย-ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด-10.pdf

ประกาศทุนวิจัย ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) ปี พ.ศ. 2566 – 2567

ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด (ศศก.) ภายใต้การสนับสนุนจากสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อพัฒนางานวิชาการด้านปัญหาการเสพติดที่สาคัญของประเทศประจาปี 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาการเสพติดในเด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป โดยมีประเภททุนและขอบเขตโครงการวิจัยที่เปิดรับในปี พ.ศ. 2566 ดังนี้

ประเภททุนวิจัย

  1. ทุนประเภทการทบทวนองค์ความรู้  
    ประกอบด้วย การทบทวนและสังเคราะห์วรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (systematic review) รวมทั้งการศึกษาบทเรียนจากต่างประเทศเพื่อนามาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับ บริบทของประเทศ

    ทุนสนับสนุนโครงการ ไม่เกิน 100,000 บาท
    ระยะเวลาดำเนินการ ไม่เกิน 4 เดือน
    *เกณฑ์เพิ่มเติม* หัวหน้าโครงการหรือที่ปรึกษาต้องเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเชิงลึกในองค์ความรู้ที่ทำการทบทวน

  2. ทุนประเภทการวิจัยและพัฒนาระดับพื้นที่ (area-based research) เพื่อสร้างรูปแบบที่เหมาะสม
    ต้องเป็นโครงการที่เป็นการพัฒนารูปแบบหรือโมเดลใหม่หรือนวัตกรรมที่มีการแสดงผลที่วัดได้เป็น รูปธรรม เช่น จานวนหรือสัดส่วนของผู้ที่ลดหรือหยุดใช้สารเสพติดได้ในพื้นที่ที่ทาการศึกษา และต้อง แสดงให้เห็นว่าจะสามารถขยายผลโมเดลให้เกิดการติดตั้ง (implement) ในชุมชนอื่นได้จริง

    ทุนสนับสนุนโครงการ ไม่เกิน 200,000 บาท
    ระยะเวลาดาเนินการ ไม่เกิน 12 เดือน


  3. ทุนประเภทการวิจัยพัฒนามาตรการหรือประเมินผลมาตรการที่มีประสิทธิภาพ 
    เป็นการพัฒนา มาตรการหรือบริการที่เหมาะสมในการป้องกันหรือดูแลผู้ใช้สาร ศึกษาความเป็นไปได้ หรือลงมือ ดาเนินการ (implement) ตามมาตรการนั้นในกลุ่มเป้าหมาย หรือประเมินประสิทธิภาพของมาตรการที่มี หลักฐานทางวิชาการสนับสนุนในกลุ่มเป้าหมาย หรือการประเมินความคุ้มค่าของมาตรการ ทั้งนี้ รวมถึงการประเมินผลความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมของมาตรการร่วมด้วย

    ทุนสนับสนุนโครงการ ไม่เกิน 200,000 บาท
    ระยะเวลาดาเนินการ ไม่เกิน 12 เดือน


  4. ทุนประเภทการวิจัยเชิงสารวจและระบาดวิทยาเป็นการวิจัยแบบสังเกต(observationalstudy)
    โดยการสารวจภาคตัดขวางหรือศึกษาติดตามไปข้างหน้าหรือศึกษาย้อนหลังเชิงปริมาณหรือเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยป้องกัน รวมทั้งลักษณะธรรมชาติ (natural history) และการดำเนินโรค (clinical course)

    ทุนสนับสนุนโครงการ ไม่เกิน 200,000 บาท
    ระยะเวลาดาเนินการ ไม่เกิน 12 เดือน


  5. ทุนสนับสนุนนักวิจัยรุ่นเยาว์หรือบัณฑิตศึกษา
    มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยใหม่โดยมีนักวิจัยอาวุโส เช่น อาจารย์ที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในการทาวิจัยด้านสารเสพติดคอยดูแลการทำงาน โครงการวิจัยอย่างใกล้ชิด โดยเป็นทุนสาหรับการทำงานวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์หรือสารนิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาโทหรือเอกที่ผ่านการสอบหัวข้อ และ/หรือผ่านการรับรองของคณะกรรมการ จริยธรรมการวิจัยของสถาบันแล้ว และอาจารย์ที่ปรึกษาลงนามรับรองการทำงาน

    ทุนสนับสนุนโครงการ ไม่เกิน 100,000 บาท
    ระยะเวลาดาเนินการ ไม่เกิน 12 เดือน


     

 

ขอบเขตหัวข้อการวิจัย

      1.  ประเด็น ผลกระทบจากการปรับร่าง พ.ร.บ ยาเสพติดฯ และการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด รวมกัญชา กระท่อม

  • ผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาวจากการปรับร่าง พ.ร.บ. ยาเสพติดฯ ต่อสังคมและเยาวชน
  • ผลกระทบจากการใช้กัญชาหรือกระท่อมในด้านสุขภาพจิต สุขภาพกาย การเกิดอุบัติเหตุ และความสงบเรียบร้อยของชุมชน ทั้งในบุคคลทั่วไปและในกลุ่มเปราะบาง (กลุ่มชาติพันธุ์ หญิงมีครรภ์ เยาวชนผู้ป่วยจิตเวช)

  • ทัศนคติ ปัจจัยในความสาเร็จ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการผลักดันนโยบายผู้เสพคือผู้ป่วยของประเทศไทย

  • การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาผ่านระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อเป็นช่องทางในการช่วยเหลือผู้เสี่ยงต่อการติดสารเสพติดและสามารถแก้ไขปัญหาระยะยาวสาหรับผู้ป่วยติดสารเสพติดเรื้อรัง

  • ความรู้ ความเข้าใจด้านนโยบายและกฎหมายของประชาชนต่อ พ.ร.บ ยาเสพติดฯ

  • ความรู้ ความเข้าใจในการใช้สารเสพติดรวมทั้งกัญชาและกระท่อมตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง ในกลุ่มประชาชนรวมทั้งเด็กและเยาวชน

  • การนำเสนอข้อมูลข่าวสารและการโฆษณาผลิตภัณฑ์กัญชงกัญชาในปัจจุบัน รวมถึงบทบาทของสื่อในการเสนอข้อเท็จจริง ภายใต้การสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคและสังคม

  • ภัยมือสองจากการเสพกัญชาจากนโยบายกัญชาเสรี

  • ความคิด ทัศนคติของสังคมต่อการดาเนินการต่อผู้เสพสารตามประมวลกฎหมายยาเสพติด

  • การศึกษาเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ของกัญชาและกระท่อมในมิติของทางการแพทย์ เศรษฐกิจ และ สังคม

  • ระบาดวิทยาสารเสพติดภายหลังประกาศประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 และผลกระทบที่เกิดขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • การสรุปบทเรียนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาผู้เสพยาเสพติดที่ประสบความสำเร็จทั้งในและต่างประเทศ

  • พัฒนาระบบการติดตามและกระบวนการสื่อสารเชิงนโยบายด้านยาเสพติดรวมทั้งกัญชา กระท่อม

  • ข้อจากัดที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการผลิตภัณฑ์กัญชาในโรงพยาบาลรัฐ และแนวทางการแก้ไขข้อจำกัดต่าง ๆ

  • การศึกษาประสิทธิผล (efficacy) และความคุ้มค่า (cost-effectiveness/ต้นทุน-ประสิทธิผล) ของผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ต่าง ๆในประเทศไทย



      2.  ประเด็น การศึกษารูปแบบการใช้สารเสพติดโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน รวมถึงปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับการป้องกันการเสพติด, การหยุดใช้สารเสพติด และการกลับมาเสพติดซ้า

  • ความสัมพันธ์ของ สังคม สภาพแวดล้อม และความสัมพันธ์ในครอบครัว กับรูปแบบการใช้สารเสพติด

  • ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการป้องกันการใช้สาร การหยุดใช้สาร และการกลับมาเสพสารซ้ำในกลุ่มเด็กและเยาวชน

  • สำรวจพฤติกรรม ชนิดและราคาของสารเสพติดที่เป็นที่นิยมของผู้ใช้สารเสพติดที่เป็นวัยรุ่น

  • อัตราการกลับมาเสพกัญชาหรือกระท่อมซ้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของเด็กและเยาวชน

  • ความรู้และความเข้าใจต่อพฤติกรรมของผู้ใช้สารเสพติดของผู้ปกครองและสถานศึกษา

  • ระบบการติดตามและกระบวนการเตรียมความพร้อมของเด็กและเยาวชนและครอบครัวก่อนได้รับการอบรม/ปล่อยตัวจากสถานพินิจในคดีสารเสพติด

  • รูปแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมความรู้และพัฒนาทักษะเรื่องผลกระทบทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคมที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้สารเสพติด

  • รูปแบบหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา

  • รูปแบบการใช้สารเสพติดแบบผสมสานหรือการใช้สารเสพติดตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปและปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชน

  • อิทธิพลของสื่อออนไลน์ต่อการป้องกันการใช้สารเสพติด การหยุดใช้ และการกลับมาใช้ซ้าในกลุ่มเด็กและเยาวชน

  • บทบาทของหน่วยงานต่าง ๆ เช่นผู้บังคับใช้กฎหมายกระทรวงศึกษาธิการศูนย์คัดกรองศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ในการลดโอกาสการใช้สารเสพติดในกลุ่มเด็ก และเยาวชน

  • การใช้เอมิลไนไตรท์ (Amyl Nitrite) รวมถึงสารเสพติดอื่น ๆ ในกลุ่มเยาวชน LGBTQ+ และการ ดัดแปลงรูปแบบการใช้สารแบบใหม่ ๆ

  • ความแตกต่างของปัจจัยทางภูมิคุ้มกันของเยาวชนเพื่อป้องกันการใช้สารเสพติดสาหรับเยาวชนในเขต เมืองเปรียบเทียบกับเขตชนบท

 

      3.   ประเด็น การป้องกันและจัดการปัญหาสารเสพติดในระดับชุมชน

  • การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการสร้างกิจกรรมให้กับชุมชนในการป้องกันการใช้สารเสพติด

  • ปัจจัยที่ส่งผลกระทบหรือผลสัมฤทธิ์ต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการช่วยเหลือบำบัดรักษาผู้ใช้สารเสพติดในชุมชนนั้น ๆ

  • ทัศนคติ ศักยภาพ และแนวทางการดูแลของผู้รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยสารเสพติดในระดับชุมชน

  • รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสารเสพติดผ่านเครือข่ายภาคประชาสังคม

  • ความชุกในการใช้สารเสพติด การรับรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและจัดการปัญหาสารเสพติดในชุมชน

  • บทบาทของผู้นาชุมชน ผู้นาทางจิตวิญญาณ ผู้นาทางศาสนาและวัฒนธรรมพื้นถิ่น ต่อการป้องกันและจัดการปัญหาสารเสพติดในระดับชุมชน

  • การพัฒนาศักยภาพผู้เชี่ยวชาญในชุมชนหรือสถานศึกษาให้มีความพร้อมในการช่วยป้องกัน หรือแก้ไข ปัญหายาเสพติดของเด็กและเยาวชน

  • รูปแบบ วิธีการจัดการปัญหาในระดับชุมชนแบบครบวงจร (comprehensive) รวมทั้งระบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหาและผลกระทบจากการใช้สารเสพติด เช่น ปัญหาทางด้านสุขภาพของผู้เสพปัญหาทางด้านสังคม/ชุมชน

  • ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการ การบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดในชุมชนโดยชุมชนเป็นศูนย์กลาง

 

      4.  ประเด็น พฤติกรรมการเสพติดด้านอื่นๆ (เช่น โซเชียลมีเดีย เกมออนไลน์ การพนันออนไลน์)

  • ภาวะเสพติดการซื้อของ (Shopaholic) หรือการเสพติดการช้อปปิ้ง (Compulsive Shopping) ผ่าน โซเชียลมีเดียหรือแอปพลิเคชันออนไลน์

  • ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตกเป็นเหยื่อของการโกงออนไลน์ในผู้ที่มีพฤติกรรมเสพติดการซื้อของออนไลน์

  • ปัจจัยที่มีผลต่อการติดเกม และรูปแบบการติดเกมออนไลน์ของเยาวชน

  • สถานการณ์ของการเสพติดโซเชียลมีเดีย และผลกระทบและปัจจัยที่มีผลต่อการเสพติด

  • สถานการณ์ของการเล่นเว็บพนันออนไลน์ รูปแบบการเข้าถึง และผลกระทบจากการเล่นเว็บพนันออนไลน์ในประเทศไทย

  • ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเสพติด เช่น เกม การช้อปปิ้ง กับโรคทางจิตเวช เช่น การมีโรคซึมเศร้า หรือมีโรคสมาธิสั้น

  • ความชุกของภาวะผิดปกติทางกายหรือจิต ปัญหาสุขภาพจิตและโรคทางจิตเวชที่พบในผู้ที่เล่นพนัน ออนไลน์ หรือเกมออนไลน์

  • โปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้และเสริมสร้างทักษะเพื่อป้องกันการติดเกม หรือพนันออนไลน์

  • พฤติกรรม และผลกระทบทางลบจากการเสพติดโซเชียลมีเดีย/เกมออนไลน์ของเด็กและเยาวชนไทย

 

      5.  ประเด็น ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ต่อพฤติกรรมการเสพติด

  • พฤติกรรมการใช้สารเสพติด ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19

  • ปัจจัยทางสังคม คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจ ที่ส่งผลกระทบต่อการพฤติกรรมการเสพติดในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

  • การพัฒนาระบบรองรับการบาบัดรักษาและติดตามผู้ที่มีปัญหาการเสพติดในกรณีเกิดการระบาดของโรคอุบัติใหม่หรืออุบัติซ้า

  • ถอดบทเรียนการให้การดูแลรักษาผู้ที่มีปัญหาการเสพติดในช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด-19

  • ผลกระทบทางสุขภาพที่มีผลเกี่ยวข้องกันจากการใช้ยาเสพติดและการติดโควิด 19

  • ระบบการจัดการ ควบคุม ดูแลผู้เสพสาร/ติดสาร กรณีมีการแพร่ระบาดของเชื้อหรือกรณีผู้เสพสารติดเชื้อที่อาจส่งผลต่อการควบคุมโรคป้องกันการแพร่ระบาด

  • ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการรักษาผู้ป่วยยาเสพติดแบบทางไกลในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19

  • การเข้าถึงความช่วยเหลือและบริการด้านสุขภาพของผู้ใช้ยาเสพติด ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19

  • การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม/รูปแบบการเสพติด (ยา/พฤติกรรม) ภายหลังจากการระบาดของโรคโควิด-19

  • พฤติกรรมการกลับไปเสพซ้าของผู้ป่วยยาเสพติดในช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19

 

     6.  ประเด็นที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

  • สื่อออนไลน์ : การรณรงค์เผยแพร่ข้อมูล/การสร้างการรับรู้การป้องกันเพื่อช่วยแก้ปัญหาการเสพติด

  • ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีผลต่อการติดสารเสพติด หรืออาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการเสพติด

  • การรักษาผู้ใช้ยาและสารเสพติดด้วยสารทดแทนอื่น เช่น การใช้ยา Buprenorphine แทนอนุพันธ์ของฝิ่นหรือเมทาโดน

  • การใช้สารเสพติดในผู้สูงอายุและการใช้สารเสพติดในผู้ที่มีความผิดปกติของโรคระบบประสาท

  • การบำบัดทางไกล (Telemedicine) ในผู้ป่วยที่กาลังหยุดใช้ยาเสพติด

  • การนำ AI Technology มาใช้ในงานด้านการเสพติด เช่น การคัดกรอง, การบำบัดรักษา, การติดตามผลการรักษา

  • การพัฒนาคู่มือสาหรับผู้ดูแลผู้ที่ติดยาเสพติด และผู้ที่ผ่านการบาบัดยาเสพติด


 

หมดเขตรับสมัคร 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ส่งรายละเอียดข้อเสนอโครงการวิจัยตามแบบฟอร์มแนบท้ายประกาศได้ที่
คุณธิติมา ดวงสนิท (ผู้ประสานงานโครงการ)
ที่อยู่อีเมล cads.subproject@gmail.com
โทร. 097-174-5584, 063-896-0011

ติดต่อสอบถามขอบเขตงานวิจัยเพิ่มเติมทางอีเมลได้ที่
ผศ.นพ.ธีรยุทธ รุ่งนิรันดร (ผู้จัดการศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด)
ที่อยู่อีเมล drteerayuth@gmail.com
1873 ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพระราม 4 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330



ประกาศ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

หมายเหตุ การทาวิจัยในมนุษย์จะต้องทาตามหลักเกณฑ์การวิจัยที่ทาในมนุษย์ตามหลักสากลและของสถาบันที่ ผู้วิจัยสังกัด โดยคำนึงถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับผู้ร่วมวิจัยเป็นสำคัญ

 


แนวปฏิบัติในการจัดทำค่าใช้จ่ายของข้อเสนอโครงการ

แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ

บทความที่เกี่ยวข้อง